Friday, August 24, 2012

เก็บเงินคืนจากภาษี ด้วย LTF และ RMF


เก็บเงินคืนจากภาษี ด้วย LTF และ RMF


          ก่อนจะเข้าเรื่องต้องขอ เกรินนำสักหน่อย กล่าวคือ บุคคลธรรมดา , ห้างหุ้นส่วน , บริษัท หรือผู้มีรายได้ จะต้องเสียภาษีให้กับทางภาครัฐ รวมถึงผู้ที่ได้รับมรดก แต่กฎหมายก็ได้ให้ข้อยกเว้นหลายอย่าง เพื่อให้ ผู้เสียภาษี สามารถนำมาลดหย่อนได้ นี่ก็คือประเด็นหลักที่ทำให้ผมนำเรื่องนี้มาแชร์ เพื่อให้เพื่อนๆ  เก็บเงินคืนจากภาษี ได้จากทางใดบ้างในช่วงนี้ ก็จะเริ่มจากความหมายของ LTF และ RMF ก่อน

LTF  กองทุนรวมหุ้นระยะยาว

            กองทุนนี้จะนำเงินของผู้ซื้อหน่วยลงทุนไปลงทุนใน หุ้นสามัญที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ อย่างน้อย 65% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ จะต้องลงทุน 5 ปี ปฏิทิน  และสามารถขายหน่วยลงทุนได้ ปีละ 2 ครั้ง แต่จะซื้อกี่ครั้งใน 1 ปี ก็ได้

RMF กองทุนเพื่อการเกษียรอายุ

              กองทุนนี้จะนำเงินของผู้ซื้อหน่วยลงทุนไปลงทุน ในสินทรัพย์ หลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นหุ้นสามัญ พัธบัตร ฝากธนาคาร ตั๋วแลกเงิน ทองคำ อื่นๆ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกองทุน การลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท ไม่เกิน 500,000 บาท ต่อปี หรือ 15% ของรายได้ทั้งปี และต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี จนกว่าอายุเราจะถึง 55 ปี  ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ไม่อนุญาติให้โอนและจำนำหน่วยลงทุนได้  (สามารถให้ ลงทุน ปี เว้น ปี ได้) จึงจะสามารถไถ่ถอนได้ เงื่อนไขอีกข้อหนึ่ง คือ หากมีการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนกำหนด จะโดนเรียกภาษีที่เคยหักลดหย่อนไปแล้วคืน 5 ปี ปฏิทินย้อนหลัง การลงทุน RMF จะไม่มีการจ่ายเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนจะทบ รวมเข้าไปในกองทุน และจะได้คืนทั้งหมดเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ข้อดีของ RMF คือสามารถ สับเปลี่ยนกอง ที่ลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายมากกว่า LTF  

เงื่อนไขในการเก็บเงินคืนจากภาษี

การซื้อหน่วยลงทุน LTF เราสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษี ได้ แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้รวม และไม่เกิน 500,000 บาท รวมทั้ง ห้ามขายออกเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี กองทุนที่ซื้อแล้วได้หักภาษีต้องเป็นกองทุนที่จัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนภายในเดือน มิ.ย. 2550 และต้องมีอายุกองทะนไม่ต่ำกว่า 10 ปี

          การซื้อหน่วยลงทุน RMF เราสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษี ได้ แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้รวม และไม่เกิน 500,000 บาท รวมทั้ง ห้ามขายออกเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และห้ามไถ่ถอนการลงทุน ก่อนอายุ 55 ปี

            การซื้อหน่วยลงทุน LTF นั้นไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องติดต่อกันทุกปี จะซื้อปี เว้นปี ก็ได้แต่จะต้องซื้อภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2559 เท่านั้น

การซื้อหน่วยลงทุน RMF นั้นไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องติดต่อกันทุกปี จะซื้อปี เว้นปี ก็ได้แต่ไม่สามารถไถ่ถอนการลงทุน ก่อนอายุ 55 ปี

            การไถ่ถอน LTF สามารถทำได้ปีละ 2 ครั้ง แต่จะซื้อกี่ครั้งก็ได้ จะซื้อเฉลี่ยทุกเดือนก็ได้  

การโอนย้ายการลงทุน RMF (ย้ายกอง) สามารถทำได้ กี่ครั้งก็ได้ จะซื้อเฉลี่ยทุกเดือนก็ได้  แต่ไถ่ถอนไม่ได้ เพราะจะถูกคิดภาษีที่ได้หักลดหย่อนคืน

การซื้อ  LTF มีจุดเด่นตรงระยะเวลาการถือครองกองทุนไว้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี ส่วนนี้นับจากปีหฏิทิน เพราะไม่ว่าจะซื้อวันไหน ในปีนั้นๆ ก็ถือว่าได้ถือหน่วยลงทุนมาแล้ว 1 ปี

ตัวอย่างใช้เทคนิคซื้อ LTF   ถ้าเราซื้อหน่วยลงทุนในวันที่ 30 ธ.ค. 2554 เราสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ในปีเดียวกันที่กำหนดให้ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2555 และนับเป็นการลงทุนแรกเลย จากนั้นถือหน่วยลงทุนเก็บไว้ ในปี 2555 จะเป็นปีที่ 2 ที่ถือหน่วยลงทุน ต่อมาในปี 2558 เมื่อเปิดทำการวันแรกก็ขายหน่วยลงทุนออกไปได้เลยเท่ากับว่าเราถือหน่วยลงทุนสุทธิแค่ 3 ปี 2 วัน เท่านั้น


ตัวอย่าง การลงทุนใน LTF  หรือ RMF ปีละ 200,000 บาท แต่ถ้าเราเสียภาษี ในอัตรา 20% เราจะได้เงินคืน 40,000 บาท เมื่อครบกำหนดในปีที่ 5 เมื่อเงินก้อนเดิมที่ได้ทั้งหมดไปลงทุนต่ออีก ถ้าเราทำแบบนี้ สัก 5 ปี เราจะได้ภาษีคืน (40,000 X 5 = 200,000) บาททีเดียว ** หมายเหตุ LTF+RMF ต้องไม่เกิน 15%  ของรายได้ และไม่เกิน 500,000 บาท

การซื้อ  RMF มีจุดเด่นตรงที่ สามารถเปลี่ยน กองทุนให้เหมาะสมกับสถาณการณ์ ได้เรื่อยๆ และ กองทุนแต่ละกองลงทุนในสินทรัพย์ ที่แตกต่างกัน

เคล็ดลับการซื้อกองทุนรวม

            ก่อนจะซื้อกองทุนรวม LTF  เพื่อลดหย่อนภาษี ควรดู ฐานภาษี ของเราก่อนว่า อยู่ที่ เท่าไร 30% ,20% , 10%  สมมุติว่าเรามีฐานภาษีที่ 10% และคาดว่าตลาดหุ้นจะตงลงไป 10% ก็ไม่ควรซื้อกองทุนรวม LTF เพื่อลดหย่อนภาษี แต่ถ้าฐานภาษี อยู่สูงกว่าก็ซื้อได้ เพราะจะมีส่วนกำไรจากภาษีอยู่  ที่สำคัญ คือไม่ควรลงทุนเกินสิทธิที่จะได้รับการลดหย่อนภาษีเพราะจะเสียโอกาส


อ่านต่อ กด ลิงค์ด้านล่างครับ....>




แนวคิด สู่อิสระภาพทางการเงิน

Plan To Success. 1
Plan To Success. 2
Plan To Success. 3
Secret Of The Millionaire Mind
Investment Method
Investment Strategy
กูรูหุ้น 1000 ล้าน
เซียนหุ้น100 ล้าน
ข้อผิดพลาดในการลงทุน
Why most people to invest Unsuccessful

KEEP YOUR MONEY FORM TAX

เก็บเงินคืนจากภาษี LTF และ RMF
เก็บเงินคืนจากประกัน Insurance
เก็บเงินคืน ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน Interest Lone
เก็บเงินคืน เงินปันผล Stock Dividend
เก็บเงินคืน จากการทำบุญ Merit
ทางเลือกการชำระภาษี Alternative tax

อื่นๆ

0 comments:

Post a Comment